วิชาชีพครู
ความสำคัญของวิชาชีพครู
ครู อาชีพครู วิชาชีพครู งานที่มีเกียรติและเป็นงานที่สร้างคนให้กับสังคม ครู คือบุคคลที่มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถและเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน ปัจจุบันบุคคลที่จะทำอาชีพนี้จะต้องได้ใบประกอบวิชาชีพครูด้วยคล้ายๆกับหมอ ความหมายของคำว่าครู http://aoysireeras.blogspot.com/2012/05/blog-post_26.html
คุณลักษณะของวิชาชีพ (Characterize of a professing)
คุณลักษณะของวิชาชีพในระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันอาชีพแบ่งได้ 4 ระดับ
เช่น (1) ระดับแรงงานหรือกรรมการ (Labor) (2) ระดับแรงงานกึ่งฝีมือ (Semilabour) (3) ระดับช่างฝีมือ(Technician) และ (4) ระดับวิชาชีพหรือวิชาชีพชั้นสูง (Profession) การประกอบอาชีพทั้ง 4 ระดับนั้นอาจจำแนกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่ 1 เป็นระดับการประกอบการประกอบด้วยระดับ 1 – 3 จัดเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยกำลังกายหรือแรงงานเป็นสำคัญ และกลุ่มที่ 2 เป็นระดับที่ 4 เป็นอาชีพที่ใช้กำลังความคิดกำลังสมองเป็นสำคัญ และเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่องจากสังคมว่าเป็นวิชาชีพที่ทำให้ผู้ประกอบอาชีพอยู่ในฐานะที่ได้รับเกียรติเป็นพิเศษในสังคม (วิจิตร ศรีสอ้าน. 2535 : 823 - 824) นอกจากนี้ (ธีรศักดิ์ อัครบวร. 2542 : 154) ได้อธิบายลักษณะวิชาชีพชั้นสูงไว้ 6 ประการ
(1) วิชาชีพชั้นสูงจะต้องบริการให้แก่สังคมที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงและจำเป็น (Social service) แต่ละวิชาชีพต่างก็มีบริการให้แก่สังคมเป็นการเฉพาะ บริการวิชาชีพนี้อาจจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น บริการของแพทย์กับพยาบาล หรือวิศวกรกับสถาปนิก แต่ทุกฝ่ายก็มีขอบเขตบริการของตนเองที่ชัดเจนแยกออกจากกันได้ วิชาชีพชั้นสูงเน้นการบริการต่อสังคมมากกว่าการหาประโยชน์จากผู้รับบริการ
(2) สมาชิกของวิชาชีพชั้นสูงจะต้องใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริการ (Intellectual method) การวินิจฉัยตัดสินใจในการปฏิบัติต่อผู้รับการบริการของวิชาชีพนั้น จะต้องอาศัยความรู้ ความคิด และสติปัญญาเป็นพื้นฐานสำคัญ มากกว่าการใช้ทักษะและความชำนาญการแต่เพียงด้านเดียว จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความรู้ ความคิด หลักการและทฤษฎีมาประกอบกัน วิธีการอย่างนี้เรียกว่า วิธีการแห่งปัญญา
(3) สมาชิกของวิชาชีพชั้นสูงจะต้องได้รับ การศึกษาอบรมให้มีความรู้กว้างขวาง ลึกซึ้งโดยใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร (Long period of training) การที่จะต้องใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริการ ผู้ให้บริการต้องได้รับการศึกษาในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และมักจะใช้เวลาศึกษามากกว่า 4 ปี หลังจากมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งนี้เพื่อจะให้หลักประกันแก่ผู้รับบริการว่า ผู้ให้บริการสามารถให้บริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพได้เพราะมีการศึกษาอบรมมามากพอ
(4) สมาชิกของวิชาชีพชั้นสูงจะต้องมีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพนั้นๆ ตามมาตรฐานของวิชาชีพ(Professional autonomy) การวินิจฉัยในการให้บริการของวิชาชีพแต่ละวิชาชีพนั้น สมาชิกของวิชาชีพนั้นๆควรจะมีเสรีภาพในการให้บริการโดยปราศจากการแทรกแซงจากบุคคลภายนอกการใช้เสรีภาพทางวิชาชีพเป็นความรับผิดชอบสำคัญเมื่อผู้ที่เป็นสมาชิกของวิชาชีพได้รับการศึกษาอบรมมาดีแล้วก็เป็นธรรมดาที่จะสามารถวินิจฉัยเพื่อให้บริการได้ถูกต้องตามลำพังความเป็นอิสระในการให้บริการเป็นลักษณะที่จำเป็นที่ทุกวิชาต้องมี แต่จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการยอมรับของสังคมและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
(5) วิชาชีพชั้นสูงจะต้องมีจรรยาบรรณ (Professional ethics) จรรยาบรรณเป็นแนวทางของการปฏิบัติวิชาชีพ ผู้ที่ละเมิดจรรยาบรรณจะต้องได้รับการลงโทษ ในกรณีร้ายแรงอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ ในทุกสังคมจะมีกฎหมายควบคุมการประกอบ วิชาชีพ ประเทศไทยก็มีกฎหมายคุ้มครองการประกอบวิชาชีพอยู่หลายวิชาชีพ โดยเฉพาะวิชาชีพหลัก ๆ ซึ่งให้บริการอันอาจจะมีผลกระทบต่อสวัสดิการ สวัสดิภาพ และความมั่นคงปลอดภัยของสังคม ผู้ที่ปฏิบัติวิชาชีพจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจึงจะกระทำได้ เช่น วิชาชีพ เวชกรรมการแพทย์ วิศวกรรม หรือสถาปัตยกรรม เป็นต้น
(6) วิชาชีพชั้นสูงจะต้องมีสถาบันวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์ จรรโลงมาตรฐานของวิชาชีพ (Professional institution) สถาบันหรือองค์กรวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของวิชาชีพ สถาบันวิชาชีพมีสองลักษณะ คือ ลักษณะที่หนึ่งเป็นสถาบันควบคุมและพัฒนามาตรฐานและการปฏิบัติวิชาชีพ เช่น แพทยสภา หรือ เนติบัณฑิตยสภา ลักษณะที่สองเป็นสมาคมวิชาชีพ เพื่อเป็นแหล่งส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก และเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความก้าวหน้าของวิชาชีพ เช่น แพทยสมาคม หรือสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย เป็นต้น
อุทัย ธรรมเตโช (2531 : 42 - 43) ได้กล่าวถึงลักษณะของวิชาชีพไว้ดังนี้
1. ให้บริการสังคมไม่ซ้ำซ้อนกับการบริการวิชาชีพอื่น เช่น ผลิตแพทย์ไปเป็น
แพทย์ และผลิตครูออกไปสอนคน เป็นต้น
2. มีระยะเวลาในการศึกษาแก่สมาชิกเป็นระบบเวลาพอสมควร อย่างน้อย
ปริญญาตรี
3. มีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพ (Professional autonomy) เช่น แพทย์มีเสรีภาพ
เต็มที่ในการวินิจฉัยโรค ไม่มีใครก้าวก่ายได้ แม้แต่แพทย์ด้วยกันเอง ครูก็มีเสรีภาพในการสอน ในการที่จะถ่ายทอดความรู้ตามลักษณะวิชาชีพครูที่ได้เรียนมา
4. มีจรรยาบรรณวิชาชีพ (Professional ethics) สำหรับยึดเหนี่ยวจิตใจให้คน
ในอาชีพปฏิบัติได้เหมาะสม เช่น ระเบียบประเพณีว่าด้วยจรรยาบรรณมารยาทและวินัยของครู เป็นต้น
5. มีสมาคมวิชาชีพ (Professional association) สำหรับเป็นศูนย์กลางเผยแพร่
วิชาการของวิชาชีพ เป็นศูนย์สัมพันธ์สำหรับคนในอาชีพเดียวกัน และเป็นศูนย์สำหรับยก มาตรฐานวิชาชีพให้สูงขึ้น เช่น คุรุสภา และแพทยสภา เป็นต้น
คุณลักษณะของวิชาชีพครู
กูเทค (Gutek, 1981 : 382 - 384) อธิบายว่าการสอนมีฐานะเป็นวิชาชีพ สาขาหนึ่งในสังคม(Teaching as a profession) จึงส่งผลให้ครูมีฐานะเป็นนักการศึกษาระดับวิชาชีพด้วย จึงต้องเตรียมตัวในด้านสมรรถนะของตน การดำรงตำแหน่งผู้สอน และผลผลิตจากการสอน ของตน เป็นต้น ซึ่งกูเทค ได้รวบรวมเกณฑ์สำหรับการพิจารณาเพื่อการยอมรับว่าการสอนเป็นวิชาชีพ จากแนวคิดของ โรเบิร์ต ฮอว์สัม (Robert Howsam) จากหนังสือ Educating a Profession ซึ่งจัดพิมพ์โดยสมาคมวิทยาลัยครูของอเมริกา (American Association of Colleges for Teacher Education. 1976) อี เอช ซิน (E.H. Schein)จากหนังสือ Professional Education (1972) และเจมส์ ฮิวส์และเฟรดเดอร์ริค ซูลทซ์ (Janes M. Hughes & Frederick M. Schultz) จากหนังสือ Education in America (1976) ได้สรุปคุณลักษณะวิชาชีพที่จะนำมา
เป็นเกณฑ์สำหรับวิชาชีพครูไว้ 7 ประการ คือ
(1) เป็นวิชาชีพที่เป็นกิจกรรมทางปัญญาและวิชาความรู้เฉพาะด้านการสอน การออกแบบวิธีถ่ายทอดความรู้ วัฒนธรรม ทักษะและค่านิยมให้กับเยาวชน ครูต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์แห่งวิชาชีพ อันเป็นวิทยาการเฉพาะด้าน และต้องใช้สติปัญญาในการถ่ายทอด แต่ละสิ่งแต่ละอย่างให้กับศิษย์
(2) เป็นวิชาชีพที่สังคมต้องการบริการสังคมเพื่อถ่ายทอดทักษะทางสังคม ค่านิยม ตลอดจนวิชาการต่างๆ ให้แก่เยาวชนตามที่สังคมประสงค์ เป็นการให้บริการเฉพาะสาขาวิชาที่ต่างจากวิชาชีพอื่น ๆ
(3) การประกอบวิชาชีพนั้นอยู่บนพื้นฐานทางทฤษฎีทางวิทยาการของศาสตร์ แต่ละสาขาที่สามารถประยุกต์มาเป็นการปฏิบัติ งานฝีมือโดยทั่วไปจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสามารถเฉพาะตัวของผู้ประกอบการ แม้ว่าจะมีการถ่ายทอดเคล็ดลับวิธีการเฉพาะตัวบ้างก็ตาม แต่การประกอบวิชาชีพนั้นเป็นงานฝีมือที่สร้างสรรค์บนพื้นฐานของความรู้หลาย ๆ ด้านที่มีความหมายมากกว่าเคล็ดลับเพียงประการเดียว การสอนก็เช่นกันเป็นงานที่ต้องผสมผสานวิทยาการทั้งปรัชญาทางการศึกษา ประวัติศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา หลักการสอน การประเมินผลทางการศึกษา ฯลฯ ในการจัดการสอนแต่ละครั้ง
(4) การเข้าสู่วงการวิชาชีพนั้นต้องเตรียมตัวในการศึกษาวิชาชีพนั้น ๆ ในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยเป็นระยะเวลาที่มากพอสมควร วิชาการสอนก็ต้องใช้เวลาเล่าเรียนและฝึกฝนในสถาบันฝึกหัดครูเช่นกันและต้องใช้เวลาโดยทั่วไปไม่น้อยกว่า 4 ปี จึงจะสำเร็จการศึกษาออกไปทำการสอนได้
(5) วิชาชีพแต่ละสาขาจะกำหนดมาตรฐานแห่งวิชาชีพขึ้น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อควบคุมความประพฤติและการปฏิบัติตน ตลอดจนมาตรฐานและคุณภาพในการประกอบ วิชาชีพของสมาชิก นอกจากจะมีศาสตร์และศิลป์แห่งการสอนยังมีจรรยาบรรณวิชาชีพที่ได้ประกาศเผยแพร่และใช้ควบคุมมาตรฐานและคุณภาพในการปฏิบัติตนของครูเช่นกัน
(6) ผู้ประกอบการวิชาชีพมีเอกสิทธิ์และเสรีภาพทางวิชาชีพ (Autonomy and freedom) การประกอบวิชาชีพนั้นผู้ประกอบวิชาชีพมีเอกสิทธิ์ในการตกลงใจและตัดสินที่จะใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาการสอนแต่ละครั้งแต่ละวิชา ผู้สอนมีเอกสิทธิ์ที่จะกำหนดวิธีสอนและออกแบบกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดในหลักสูตร
(7) สมาชิกแห่งวิชาชีพต่าง ๆ มีการจัดองค์กรวิชาชีพที่เป็นอิสระในการควบคุมจรรยาบรรณ มาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ และสามารถลงโทษสมาชิก การสอนนั้น ผู้ทำการสอนต้องมีการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพที่หลากหลายเพื่อควบคุมมาตรฐาน ตลอดจนเผยแพร่ผลงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้แก่กันและกัน
จากแนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะของวิชาชีพครูอาจจะสรุปได้ว่า อาชีพครูเป็นอาชีพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด การประกอบอาชีพนี้ได้ต้องได้รับการศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดี ทำให้มีอิสระและเสรีภาพทางวิชาชีพในประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณวิชาชีพควบคุมความประพฤติ เป็นวิชาชีพที่มีหน้าที่เปลี่ยนแปลงโลกด้วยพลังแห่งระลอกคลื่นอย่างต่อเนื่อง และเป็นแม่แบบให้ได้ยึดถือ (กานต์สุดา มาฆะศิวานนท์. 2545 : 16 – 18)
สถาบันและองค์กร (วิชาชีพครู)
สถาบันและองค์กร
แนวคิด
๑. องค์กร
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพครู มีหลักๆ๓ องค์กร คือ
องค์กรผลิตครู – หน่วยงานผลิตบุคลากรทางการศึกษา เช่น คณะศึกษาศาสตร์, ราชภัฏ ฯ
องค์กรผลิตครู – หน่วยงานผลิตบุคลากรทางการศึกษา เช่น คณะศึกษาศาสตร์, ราชภัฏ ฯ
องค์กรใช้ครู – สถานศึกษาในสังกัดต่างๆทั้งกระทรวงศึกษา เทศบาล โรงเรียนเอกชน หน่วยงานเพื่อให้ความรู้
องค์กรวิชาชีพครู – องค์กรที่ผู้ประชอบวิชาชีพครูจัดตั้งขึ้น เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู พัฒนาครู และจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับครูกลุ่มนั้นๆ
ลักษณะขององค์กร :
๑. ปัญหา/แนวคิด ที่เหมือนกัน ร่วมกันจัดตั้ง
๒. เป็นวิชาชีพชั้นดี จำเป็นต่อสังคมในการประกอบวิชาชีพ มีผลกระทบต่อมวลชน
๓. เป็นนิติบุคคล มีกฎหมายรองรับในการดำเนินการ
๑. ปัญหา/แนวคิด ที่เหมือนกัน ร่วมกันจัดตั้ง
๒. เป็นวิชาชีพชั้นดี จำเป็นต่อสังคมในการประกอบวิชาชีพ มีผลกระทบต่อมวลชน
๓. เป็นนิติบุคคล มีกฎหมายรองรับในการดำเนินการ
๔. มีทรัพยากรขององค์กร สถานที่ บุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนทรัพย์สินต่างๆ
๕. มี พ.ร.บ. ควบคุม เช่น พ.ร.บ. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ๖.มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพที่เผยแพร่ให้สังคมรับทราบ
๕. มี พ.ร.บ. ควบคุม เช่น พ.ร.บ. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ๖.มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพที่เผยแพร่ให้สังคมรับทราบ
ตัวอย่างองค์กรที่มีกฎหมายรองรับ ๑. ครุสภาเก่า ๒. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู ๓. สมาคมวิชาชีพเฉพาะด้านต่างๆ เช่น สมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาคมครูโรงเรียนราษฎร์ สมาคมครูสตรีไทย เป็นต้น ๔. สมาคมที่มีลักษณะพิเศษ – สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย
เป้าหมายขององค์กรวิชาชีพครู
๑. ส่งเสริมสมาชิกให้มีการกินดี อยู่ดี โดยจัดสวัสดิการต่างๆหรือดูแลสิทธิประโยชน์ของสมาชิกทุกด้าน ๒. ส่งเสริมสมาชิกมีความสามารถในการประกอบวิชาชีพสูงขึ้น (ส่งเสริมด้านวิชาการสำหรับวิชาชีพ)
บทบาทและหน้าที่ของคุรุสภาที่พึงประสงค์ (เดิม)
๑. เป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจสามารถปฏิบัติงานได้โดยเร็ว ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๒. ส่งเสริมสวัสดิการแลพบริการให้แก่สมาชิกโดยทั่วถึง
๒. ส่งเสริมสวัสดิการแลพบริการให้แก่สมาชิกโดยทั่วถึง
๓. สร้างเกณฑ์มาตรฐานทางจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อควบคุมครูให้ประพฤติตนอยู่ในขอบเขตอันเหมาะสม
๔. มีอำนาจในการออกและถอดถอนใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ
๕. ส่งเสริมให้สมาชิกมีความก้าวหน้าและทันสมัยทางวิชาการ
๖. ควบคุมมาตรฐานวิชาชีพและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
๗. วิจัยและวางแผนเพื่อพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ ๘. ประสานงานระหว่างสมาคมที่เกี่ยวข้อง
๒. สถาบัน
- สถาบันเป็นสิ่งที่สำคมจัดตั้ง เพื่อประโยชน์โดยรวมของสังคม เป็นความจำเป็นที่ต้องมีของสังคม
องค์ประกอบความเป็นสถาบัน
- จัดตั้งขึ้นโดยสมาชิกของสังคมยอมรับ - มีกฎหมายรองรับ มีระเบียบวิธีการ
- มีลักษณะ มั่นคง เปลี่ยนแปลงยาก
- มีลักษณะ มั่นคง เปลี่ยนแปลงยาก
- มีประโยชน์ต่อสังคมนั้นๆ
*สถาบันวิชาชีพครู ส่งเสริมศักดิ์ศรี สร้างความเชื่อมั่น และ สร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม * ผู้ประกอบวิชาชีพ ยึดมั่น ศรัทธา สร้างชื่อเสียงให้สังคมยอมรับ และ ปกป้องสถาบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น